แบบจำลองอะตอม


      1.1.1 แบบจำลองอะตอม  ( Atomic  model )  คือ มโนภาพที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากการทดลอง  เพื่อใช้อธิบายลักษณะของอะตอมหรือรายละเอียดของโครงสร้างอะตอม


Ø แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นนักเคมีคนแรกที่เสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับอะตอม มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กเรียกว่า อะตอม แบ่งแยกไม่ได้ จะสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายให้สูญหายไปไม่ได้
2.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันย่อมมีสมบัติเหมือนกันมีมวลเท่ากัน แต่จะแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่นๆ
3.สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปทำปฎิกิริยากัน ในอัตราที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ
ดังนั้น จอห์น ดอลตัน จึงเสนอแบบจำลองอะตอมดังนี้


 
อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม มีขนาดเล็กมากและไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก
แบบจำลองอะตอมของจอห์น ดอลตัน

Ø แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
ได้จากผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่สนใจการทดลองหลอดรังสีแคโทด
ซึ่งมีการทดลองและค้นพบดั้งนี้



หลอดรังสีแคโทดกับการค้นพบอิเล็กตรอน

 
 


               ในปี ค.ศ. 1897  เซอร์ โจเซพ จอห์น ทอมสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด ดังรูป
              
                                            



รูป 1.1 หลอดรังสีแคโทด
ทำการทดลองโดยสูบอากาศออกจากหลอดแก้วเพื่อลดความดัน จนเกือบเป็นสุญญากาศและเพิ่มศักย์ไฟฟ้าให้สูงขึ้นถึง 10,000 โวลต์ ก๊าซจะนำไฟฟ้าได้ ผลการทดลองปรากฏว่าฉากเรืองแสงได้ แสดงว่ามีอนุภาคอยู่ในอะตอม
ต่อมาได้มีการดัดแปลงหลอดรังสีแคโทดใหม่ เพื่อให้รังสีมีลักษณะเรียวเล็ก โดยการพุ่งผ่านรูกลมที่เจาะด้านแอโนด ดังรูป





           รูป 1.2 หลอดรังสีแคโทดที่ดัดแปลงแล้ว
เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดแก้วที่บรรจุแก๊สภายใต้ความดันต่ำเกือบเป็นสุญญากาศและความต่างศักย์สูง จะเกิดการเรืองแสงขึ้น ลำแสงนี้จะผ่านจากขั้วแคโทดไปที่แอโนด ไปเรืองแสงบนฉากที่วางอยู่
ต่อมาทอมสันได้ดัดแปลงอุปกรณ์เพิ่มเติมโดยการเพิ่มขั้วไฟฟ้าเข้าไปอีก 2 ขั้ว เพื่อให้เกิดสนามไฟฟ้า ดังรูป





รูป 1.3 หลอดรังสีแคโทดที่มีขั้วไฟฟ้าในหลอดเพิ่มอีก 2 ขั้ว
จากผลการทดลองพบว่า ลำแสงแบนออกจากขั้วลบเข้าหาขั้วบวกของสนามไฟฟ้า และจะเห็นจุดเรืองแสงเบี่ยงแบนออกจากแนวเดิม
ทอมสันจึงได้เสนอข้อสรุปจากผลการทดลองว่า  “อะตอมทุกชนิดมีอนุภาคที่มีประจุลบเป็นองค์ประกอบ และเรียกอนุภาคชนิดนี้ว่า อิเล็กตรอน”










หลอดรังสีแคโทดกับการค้นพบโปรตอน

 
 


ออยเกน  โกลด์ชไตน์     ได้ดัดแปลงหลอดรังสีแคโทดใหม่  ดังรูป






รูป 1.4 หลอดรังสีแคโทดกับอนุภาคบวก
ผลการทดลองพบว่า ลำแสงเบี่ยงเบนออกจากขั้วบวกและวิ่งเข้าหาขั้วลบ ถ้าทดลองใช้แก๊สไฮโดรเจน จะได้อนุภาคบวกที่มีประจุเท่ากับอิเล็กตรอนพอดี เรียกอนุภาคบวกที่เกิดจากแก๊สไฮโดรเจนนี้ว่า “ โปรตอน ”
จากผลการทดลองทั้งหมดทอมสันจึงเสนอแบบจำลองอะตอม ดังนี้



อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม ประกอบด้วยโปรตอน  ซึ่งมีประจุบวก และ อิเล็กตรอน ซึ่งมีประจุลบ  กระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมในสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับจำนวนประจุลบ
 
 
                              

แบบจำลองอะตอมของ เจ เจ  ทอมสัน

Ø แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
การเสนอแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด มาจากผลการทดลองดังนี้
รัทเทอร์ฟอร์ด ได้ทำการทดลอง โดยการยิงรังสีแอลฟาซึ่งมีประจุบวกไปยังแผ่นทองคำบางๆ โดยให้ฉากเรืองแสงโค้งเป็นวงรอบแผ่นโลหะทองคำดังรูป

























     รูป 1.5 การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด

จากการทดลอง รัทเทอร์ฟอร์ดสรุปได้ว่า
1.         อนุภาคส่วนใหญ่จะวิ่งเป็นเส้นตรงทะลุผ่านแผ่นทองคำไปกระทบฉากที่อยู่ด้านหลัง แสดงว่าอะตอมจะต้องมีช่องว่างมาก
2.         อนุภาคส่วนน้อยจะเบี่ยงแบนไปจากแนวเส้นตรง เพราะว่ามีอนุภาคแอลฟาเคลื่อนที่เข้าไปใกล้หรือเฉียดกลุ่มประจุบวกทำให้เกิดการผลักกันจึงทำให้อนุภาคแอลฟาเบนไปจากเส้นตรง
3.         อนุภาคส่วนน้อยจะสะท้อนกลับมากระทบฉากบริเวณด้านหน้าแผ่นทองคำ ในทิศทางเดิม แสดงว่าอนุภาคแอลฟา จะต้องไปกระทบกับประจุบวกหรือกลุ่มประจุบวก

จากผลการทดลองรัทเทอร์ฟอร์ดจึงเสนอแบบจำลองอะตอม ดังนี้
                                                                           “อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง                                                                 นิวเคลียสมีขนาดเล็กแต่มีมวลมากและมีประจุบวก ส่วนอิเล็กตรอน                                                                      ซึ่งมีประจุลบจะวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง"     
              
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

แบบฝึกหัด
1.   ถ้าแบบจำลองของดาลตันถูก  ผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดควรเป็นอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.   ถ้าแบบจำลองของทอมสันถูก  ผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดควรเป็นอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



การค้นพบนิวตรอน

 
 



สาเหตุที่ค้นพบนิวตรอน
1.  เนื่องจากมวลของอะตอมต่างๆ  มักจะเป็น  2  เท่า  หรือมากกว่า  2  เท่า  ของมวลโปรตอนรวม  รัทเทอร์ฟอร์ด  จึงสันนิษฐานว่า  น่าจะมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งอยู่ในนิวเคลียส  และอนุภาคนี้ต้องมีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตอนมากและต้องเป็นกลางทางไฟฟ้า
2.  ทอมสันศึกษาหามวลอนุภาคบวกของ  Na  ปรากฏว่า  อนุภาคบวกนี้มีมวล  2  ค่า  ผลการทดลองดังนี้  สนับสนุนว่าจะต้องมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งอยู่ในนิวเคลียส
3.  เซอร์เจมส์ แซดวิก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟา ไปยังอะตอมของธาตุ Be  ปรากฏว่าได้อนุภาคชนิดหนึ่งออกมา  ซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตรอนและไม่มีประจุไฟฟ้า  เรียกอนุภาคนี้ว่า  นิวตรอน




Ø แบบจำลองอะตอมของโบร์
เนื่องจากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่ได้อธิบายว่าอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสในลักษณะใด นักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามทดลองหา โดยการศึกษาสเปกตรัมของธาตุและสารประกอบ ดังนี้
สเปกตรัมของธาตุ (Spectrum) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นต่างๆกัน
ความยาวคลื่น คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ ใช้สัญลักษณ์ l อ่านว่า แลมบ์ดา
ความถี่ของคลื่น คือ จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดหนึ่งในเวลา 1 วินาที ใช้สัญลักษณ์ u อ่านว่า นิว
สเปกตรัมของแสงขาว คือ แสงสีต่างๆ ที่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง เมื่อผ่านแสงขาว (แสงจากดวงอาทิตย์) ไปยังปริซึมเนื่องจากแสงขาวเดินทางผ่านตัวกลางจะเกิดการหักเหของแสง



 







ตาราง 1.1 แสดงแสงสีต่างๆ ในแถบสเปกตรัมของแสงขาว

สี
ความยาวคลื่น (nm)
ม่วง
400-420
น้ำเงิน
420-490
เขียว
490-580
เหลือง
580-590
ส้ม
590-650
แดง
650-700

มักซ์ พลังค์ ได้ศึกษาพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสรุปว่า “พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่นนั้น” เขียนความสัมพันธ์ได้ ดังนี้
E   =  hu
                                                                    u   =   C
                                                                                l
                                                            
     \    E   =  h  C
                                                                                   l                                                                                                                     

เมื่อ        E            คือ พลังงานมีหน่วยเป็นจูล
h             คือ ค่าคงที่ของแพลงค์ มีค่าเท่ากับ 6.625 x 10-34  จูลวินาที (Js)    
C            คือ ความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในสูญญากาศมีค่าเท่ากับ 3 x 108 เมตรต่อวินาที (ms-1)
u           คือ ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีหน่วยเป็นเฮิร์ตซ์ (Hz) หรือรอบต่อวินาที (s-1)
l           คือ ความยาวคลื่นมีหน่วยเป็นเมตร (m) หรือ นาโนเมตร (nm) โดย 1 nm  =  10-9  m


การเกิดเส้นสเปกตรัมของธาตุ

สถานะพื้น (ground state) หมายถึงอะตอมที่อิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีพลังงานเฉพาะตัวอยู่ในระดับพลังงานต่ำ  อะตอมในสถานะพื้นจะมีความเสถียรเนื่องจากมีพลังงานต่ำ
สถานะกระตุ้น (excited state)หมายถึงอะตอมที่ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น  ทำให้อิเล็กตรอนถูกกระตุ้นให้อยู่ในระดับพลังงานสูงขึ้น  ที่สถานะกระตุ้นอะตอมจะไม่เสถียร  เนื่องจากมีพลังงานสูง


อะตอมที่ได้รับพลังงาน  เช่น  จากการเผา  หรือจากกระแสไฟฟ้า  อิเล็กตรอนจะเปลี่ยนจากสถานะพื้นไปสู่สถานะกระตุ้นซึ่งไม่เสถียร  จึงต้องคายพลังงานออกมา  ซึ่งพลังงานที่คายออกมาจะอยู่ในรูปพลังงานแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  เมื่อผ่านปริซึมหรือสเปกโตรสโคปจะแยกแสงออกเป็นเส้นสเปกตรัม
การที่ธาตุแต่ละชนิดให้เส้นสเปกตรัมออกมาหลายเส้น  แสดงว่าอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีหลายระดับพลังงาน  ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานต่ำ  ส่วนระดับพลังงานที่อยู่ห่างนิวเคลียสจะมีพลังงานสูง  เมื่ออิเล็กตรอนคายพลังงานอาจคายพลังงานได้หลายช่วงความยาวคลื่น  จึงมองเห็นเส้นสเปกตรัมได้หลายเส้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสเปกตรัมของแก๊ส โดยใช้อะตอมของไฮโดรเจนเป็นตัวอย่างในการแปลความหมายของเส้นสเปกตรัม เพราะเป็นอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเดียว จากการทดลองหลายครั้งพบว่าอะตอมของไฮโดรเจนให้เส้นสเปกตรัมได้หลายเส้นที่มีลักษณะเหมือนกันทุกครั้ง จึงสรุปได้ว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนขึ้นไปอยู่ในสถานะกระตุ้นที่มีพลังงานแตกต่างกันได้หลายระดับ
จากการศึกษาสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจน สามารถนำมาสรุปได้ว่า
1.    เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานในปริมาณที่เหมาะสม อิเล็กตรอนจะขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานที่สูงกว่าระดับพลังงานเดิม แต่จะอยู่ในระดับใดขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ การที่อิเล็กตรอนขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานใหม่ทำให้อะตอมไม่เสถียร อิเล็กตรอนจะกลับมาอยู่ในระดับพลังงานที่ต่ำกว่า ซึ่งในการเปลี่ยนตำแหน่งนี้อิเล็กตรอนจะคายพลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดเป็นเส้นสเปกตรัม
2. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปยังระดับพลังงานที่อยู่ติดกันอาจมีการเปลี่ยนข้ามระดับได้ แต่เมื่ออิเล็กตรอนรับพลังงานแล้วจะขึ้นไปอยู่ระหว่างระดับพลังงานไม่ได้ จะต้องขึ้นไปอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งเสมอ
3. ผลต่างของพลังงานระหว่างระดับพลังงานต่ำจะมีค่ามากกว่าผลต่างของพลังงานระหว่างระดับพลังงานที่สูงขึ้นไป
นีลส์ โบร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้นำความรู้เรื่องสเปกตรัมมาสร้างแบบจำลองขึ้นใหม่ เพื่อใช้อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส โดยกล่าวว่า

อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางมี  และ  อยู่ภายใน  ส่วน  จะเคลื่อนที่อยู่โดยรอบเป็นระดับชั้นพลังงาน

 
แบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น