พลังงานไอออไนเซชัน

พลังงานไอออไนเซชัน(ionization energy)
     ความหมาย
          พลังงานไอออไนเซชัน คือ พลังงานที่ให้แก่อะตอม เพื่อให้อะตอมในสถานะแก๊สกลายเป็นไอออนบวกและยังเป็นการดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอมนั้นด้วย
Li(g) Li+(g) + e-
               - ธาตุที่มีอิเล็กตรอน 1 ตัว คือ ธาตุไฮโดรเจน(H)

H(g) H+(g) + e-               IE=1,318 kJ/mol








                  ธาตุไฮโดรเจนมีพลังงานไอออไนเซชันเท่ากับ 1,318 กิโลจูลต่อโมล แสดงว่าเราต้องให้พลังงานแก่ธาตุไฮโดรเจน 1,318  กิโลจูลต่อโมล จึงจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมา
               
               - ธาตุที่มีอิเล็กตรอนมากกว่า 1 ตัว เช่น ธาตุลิเทียม(Li)
                                        Li(g) Li+(g) + e-               IE1 = 520 kJ/mol
                                        Li+(g) Li2+(g) + e-            IE2 = 7,394 kJ/mol
                                        Li2+(g) Li3+(g) + e-           IE3 = 11,815 kJ/mol

 
                   จากการสังเกตจากค่าพลังงานไอออไนเซชันจะพบว่า IE1 คือ พลังงานที่ให้แก่อะตอมเพื่อดึงอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุด(เวเลนซ์ อิเล็กตรอน) มีค่าน้อยที่สุด เพราะอิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสหลุดออกได้ง่าย ไม่ต้องใช้พลังงานมากเพราะได้รับแรงดึงดูดจากนิวเคลียสน้อย แต่อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะถูกดึงดูดไว้เราต้องใช้พลังงานมาก เพื่อที่จะทำให้อิเล็กตรอนนั้นหลุดออกมา ดังนั้นค่า IE3 จึงมีค่ามากที่สุด
     แนวโน้มพลังงานไอออไนเซชันของธาตุต่าง ๆ ในตารางธาตุ
          - ธาตุในหมู่เดียวกัน พลังงานไอออไนเซชันลดลงจากบนลงล่าง เพราะระยะห่างระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนลดลง อิเล็กตรอนจึงหลุดจากอะตอมได้ง่าย เช่น ธาตุในหมู่ IA
พลังงานไอออไนเซชัน Li > Na > K > Rb > Cs > Fr
          - ธาตุในคาบเดียวกัน พลังงานไอออไนเซชันเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา เพราะค่าประจุนิวเคลียสสุทธิมากขึ้น อะตอมขนาดเล็ก จึงมีแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากขึ้น ทำให้อิเล็กตรอนหลุดยาก จึงต้องใช้พลังงานสูงในการดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอม ยกเว้นอะตอมของธาตุหมู่ 2 จะสูงกว่า หมู่ 3 และ หมู่ 5 จะสูงกว่า หมู่ 6 เพราะเกิดจากการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่เสถียรต่างกัน    
 เช่น ธาตุในคาบที่ 2 พลังงานไอออไนเซชัน Li < Be < B < C < N < O < F


                 

 
ข้อสรุปเกี่ยวกับค่า IE
1.   การดึงอิเล็กตรอนให้หลุดจากอะตอม จะดึงได้ในภาวะก๊าซเท่านั้น
2.   การดึงอิเล็กตรอนให้หลุดจากอะตอมในระดับพลังงานสูง จะหลุดจากอะตอมได้ง่ายที่สุด เพราะอิเล็กตรอนอยู่ห่างไกลจากนิวเคลียสมาก แรงดึงดูดของนิวเคลียสที่ส่งมาดึงดูดอิเล็กตรอนมีน้อย
3.   การดึงอิเล็กตรอนข้ามระดับพลังงาน จะต้องใช้พลังงานสูงเป็นพิเศษ เพราะอิเล็กตรอนอยู่ใกล้นิวเคลียสมากขึ้น
4.   ค่า IE สามารถบอกได้ว่าธาตุนั้นอยู่หมู่ใด ดังเช่น
ธาตุ A มีค่า IE ดังนี้           5       9        13      21       72        89        ธาตุนี้อยู่หมู่ที่………….
ธาตุ B มีค่า IE ดังนี้         740      1,500     7,500     9,900     11,000    ธาตุนี้อยู่หมู่ที่………….
5.   ผลต่างของพลังงาน IE เฉลี่ยของแต่ละระดับพลังงาน ทำให้ทราบว่า ระดับพลังงานวงในจะอยู่ห่างกันมากส่วนระดับพลังงานวงนอกจะอยู่ชิดกันมาก เช่น ค่า IE ของ Mg เป็น
0.744     1.457     7.739     10.547      13.636        18.001         21.710       25.663
       
31.650         35.469          170.03           187.399
6.   ถ้าเปรียบเทียบค่า IE ของธาตุต่างชนิดกัน ให้พิจารณาจาก
ถ้าดึงอิเล็กตรอนต่างระดับพลังงานกัน อิเล็กตรอนที่อยู่ระดับพลังงานสูง (วงนอก) จะดึงง่ายกว่าอิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับระดับพลังงานต่ำ (วงใน)
ถ้าดึงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานเดียวกัน  ให้พิจารณาจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส ถ้ามีโปรตอนในนิวเคลียสมากกว่า พลังงาน IE ก็จะใช้มากกว่าด้วย (ยกเว้นในบางกรณ๊ที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมที่เสถียร) เช่น 
จงหาค่า IE ลำดับที่ 3 ของธาตุต่อไปนี้    11A         12B          13C          14D






 




  


แบบฝึกหัด
1. พลังงานไอออนไนเซชันของธาตุ A   B   C  และ  เป็นดังนี้
              

ธาตุ

พลังงานไอออนไนเซชัน (kJ/mol) ลำดับที่
1
2
3
4
A
B
C
D
500
740
900
580
4600
1500
1800
1800
6900
7700
14800
2700
9500
10500
21000
11600

จงพิจารณาข้อมูลในตารางและตอบคำถามต่อไปนี้
               .ธาตุใดมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเกิดเป็นไอออนซึ่งมีประจุ   +1
               . ธาตุใดน่าจะมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน

2.  ธาตุ X มีค่าพลังงานไอออไนเซซัน  IE1   -  IE6    ดังนี้
1.093     2.359     4.627     6.229     37.838   47.285   kJ
จงเขียนสมการแสดงการใช้พลังงานไอออไนเซซันในการดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอมของธาตุ X จนเป็น  X+6  และธาตุ X อยู่หมู่และคาบใดในตารางธาตุ








3.  กำหนดให้ ธาตุ Z มีค่า IE ดังนี้    1.3       3.4          5.3          7.5          10.9       13.3       71.3       84.1
จงตอบคำถามต่อไปนี้
-            Z ควรเป็นธาตุในหมู่ใด…………………………………………………………………….
-            ถ้าต้องการให้อิเล็กตรอนหลุด 2 อิเล็กตรอน จะต้องใช้พลังงานอย่างน้อยเท่าใด
…………………………………………………………………………………………….
-            ถ้าทำให้อิเล็กตรอนหลุดตัวแรก จะต้องหลุดในระดับพลังงานใด และใช้ค่า IE ลำดับที่เท่าใด
…………………………………………………………………………………………….

4.  จงเขียนเครื่องหมาย    หน้าข้อความที่ถูกต้อง  เละใส่เครื่องหมาย    หน้าข้อความที่ผิด
………..1)   โซเดียมมีค่า IE( 494  kJ mol -1)  มีค่าน้อยกว่าลิเทียม (519  kJ mol -1 ) เพราะอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดของโซเดียมอยู่ไกลนิวเคลียสมากกว่าของลิเทียม
……….2)  ธาตุโลหะจะมีพลังงานไอออไนเซชันดับที่  ต่ำกว่าธาตุอโลหะ
……….3)  จำนวนค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุเท่ากับธาตุอะตอมของธาตุนั้น
……….4) โพแทสเซียมมีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่  สูงกว่าโซเดียม
……….5)  พลังงานไอออไนเซชัน  IE1  ,  IE2  ,  และ  IE3  ของ  73เท่ากับ  0.50  7.30  และ  11.80  MJ mol -1  ตามลำดับ  ถ้าต้องการทำให้เกิด  73X3+   (g)  จะต้องใช้พลังงาน 11.80  MJ mol -1
……….6)  X3+  (g)    IEn                                     X4+  (g)   +    e -   ,    n=4
              


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น